คนรุ่นใหม่ที่นอกจากจะต้องใส่ใจทั้งด้านการงานและการใช้ชีวิตแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับด้านสุขภาพ แนะดื่มน้ำด่างที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพช่วยลดความเป็นกรด คงความสมดุลให้กับร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
ร่างกายของเราควรได้รับน้ำดื่มปริมาณ 2 ลิตร หรือ 2,000 มิลลิลิตรต่อวัน เพราะนอกจากช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นดับกระหายแล้ว ยังช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกาย เช่น การเผาผลาญพลังงาน การหายใจ การหลั่งเหงื่อ การขับปัสสาวะเป็นปกติ นอกจากน้ำเปล่าแล้ว ปัจจุบันมีเครื่องดื่มให้เลือกมากมาย เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มรสหวานที่ไม่ใช้น้ำตาล เครื่องดื่มที่ผสมสารอาหาร อย่างน้ำผักผลไม้ เกลือแร่ น้ำวิตามิน
แต่เครื่องดื่มเหล่านี้ ยังคงต้องระวังจำนวนแคลอรีหรือปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้มุมหนึ่งถูกมองว่า หากดื่มมากไปก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี
“น้ำด่าง” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ที่นอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการกินอาหารที่มีฤทธิ์ความเป็นกรดสูง เพิ่มความสดชื่นและชะลอโรคภัยที่คาดไม่ถึงได้
“น้ำด่าง” แตกต่างจากน้ำเปล่าทั่วไปอย่างไร?
น้ำด่าง หรือ น้ำดื่มอัลคาไลน์ คือ น้ำที่มีค่า pH หรือความด่าง อยู่ที่ประมาณ 8.0-9.0 ซึ่งถือว่าสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไปที่มีค่า pH เป็นกลาง คือ 7.0 ความด่างเหล่านี้จะเข้าไปช่วยปรับสมดุลกรดที่สะสมในร่างกาย นอกจากนี้น้ำด่างที่ผลิตจากเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นยังมีโมเลกุลขนาดเล็กจึงทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายจึงช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกายได้
คุณสมบัติ “น้ำด่าง” ที่มีมากกว่าเพิ่มความสดชื่น
- สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย รักษาสมดุลของร่างกาย สัมพันธ์กับความเจ็บป่วย โรคติดเชื้อ โรคเรื้อรัง และโรคมะเร็งหลายชนิด
- ลดกรดไหลย้อน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร ล้างสารพิษในลำไส้
- เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร รักษาสมดุลทางเดินอาหารทั้งระบบ
- เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน
สำหรับใครที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์น้ำด่างมาดื่มเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำ “อิชิตัน น้ำด่าง8.5” ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับโลกมาตรฐานญี่ปุ่น (Japan Smart Technology) โดยดึงจุดเด่นน้ำด่าง 8.5 ที่แตกต่างมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น เสริมคุณประโยชน์ด้วยการผสมวิตามินที่มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีอีกหลากหลายสูตรให้เลือกสรรแต่ไม่ว่าจะเลือกกินสูตรไหนก็ได้รับวิตามินที่เต็มขวดดูแลสุขภาพคนไทยตามแนวคิด “ป้องกันดีกว่ารักษา”
ที่มาของข้อมูล : กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด